วันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2550

บริการโสตทัศนวัสดุ ( Audio-Visual Materials Service ).

งานสื่อโสตทัศน เป็นงานบริการแบบสื่อประสม มีหลายรูปแบบที่ผู้ใช้บริการสามารถเลือกเรียนรู้ได้ตามความสนใจ อาจจะเป็นในรูปของข้อความ เสียง รูปภาพ หรือ ภาพเคลื่อนไหว โดยผ่านประสาทสัมผัสทางหูและตา ซึ่งมีคุณค่าต่อการศึกษาและการสอน เพราะเป็นศูนย์รวมแห่งความสนใจ ช่วยให้เข้าใจในเรื่องที่ต้องการศึกษาได้รวดเร็ว จำได้นาน และเกิดการเรียนรู้อย่างมีมิติ
สื่อโสตทัศน์ เป็นสื่อหรือวัสดุ ที่ผู้ใช้สามารถเลือกใช้สื่อประเภทต่างๆ ได้ ตามที่ต้องการดังนี้
ซีดีรอม : CD-ROM หมายถึง แผ่น Compact Disc ที่เก็บข้อมูลชนิดตัวอักษร ภาพ, ภาพเคลื่อนไหว, แสง สี เสียง ไว้ในแผ่นเดียวกัน ใช้กับเครื่องอ่านซีดีรอมของเครื่องคอมพิวเตอร์
วีดิทัศน์ : VC หมายถึง ม้วนวิดีโอเทปที่เก็บสัญญาณภาพและสัญญาณเสียง ไว้ในแถบเคลือบสารแม่เหล็ก ใช้กับเครื่องเล่นวิดีโอเทป
เทปคาสเซ็ท : TC หมายถึง ม้วนเทปคาสเซ็ทที่เก็บเฉพาะสัญญาณเสียงไว้ใน แถบเคลือบสารแม่เหล็ก ใช้กับเครื่องเล่นเทปคาสเซ็ท
วีดีโอ-ซีดี : VCD หมายถึง แผ่น Compact Disc ที่เก็บสัญญาณภาพ, ภาพเคลื่อนไหว และสัญญาณเสียง ไว้ในแผ่นเดียวกัน สามารถใช้กับเครื่องเล่นวีซีดี ดีวีดี และเครื่องอ่านซีดีรอมได้
แผ่นดิสก์ : DISK หมายถึง แผ่น Floppy Disk ขนาด 3/4 นิ้ว ใช้ประกอบกับ หนังสือในสำนักหอสมุด ใช้กับเครื่องอ่าน Floppy Drive (A:) ของเครื่องคอมพิวเตอร์
ซีดี : CD หมายถึง แผ่น Compact Disc ที่เก็บเฉพาะสัญญาณเสียง เพียงอย่างเดียวไว้ในแผ่นCD ใช้กับเครื่องเล่นซีดี วีซีดี ดีวีดี และเครื่องอ่านซีดีรอมของเครื่องคอมพิวเตอร์ได้

การสืบค้นระบบโอแพค (OPAC) ระบบโอแพค (Online Public Access Catalog Module = OPAC) เป็นระบบการสืบค้นสารสนเทศที่มีให้บริการในห้องสมุด จากฐานข้อมูลรายการบรรณานุกรม ที่ห้องสมุดจัดทำขึ้น ด้วยระบบออนไลน์ ผู้ใช้สามารถสืบค้นสารสนเทศในห้องสมุดได้อย่างสะดวก รวดเร็ว โดยสืบค้นจากฐานข้อมูลแทนบัตรรายการ ซึ่งผู้ใช้บริการจะสื่อสารกับเครื่องด้วยตนเอง โดยเข้าไปที่ www.spu.ac.th

1. www.spu.ac.th
2. คลิกเลือก e-Library พิมพ์คำสำคัญที่ต้องการ
3. ระบบจะดึงข้อมูลที่สัมพันธ์กับคำนั้นออกมาให้เลือก
หมายเหตุ สามารถค้นข้อมูลได้หลายรูปแบบ โดยคลิกเลือกประเภทการค้นได้ดังต่อไปนี้
1. General Keyword (คำสำคัญ)
2. Title Keyword (ชื่อเรื่อง)
3. Author Keyword (ชื่อผู้แต่ง)
4. Subject Keyword (หัวเรื่อง)
5. ISBN/ISSN
6. LC Call Number
7. Local Call Number
8. Barcode

การเลือกใช้ทรัพยากรสารสนเทศ
ในภาวะปัจจุบันเป็นยุคของข้อมูลข่าวสารซึ่งมีหลายรูปแบบ การเลือกใช้ทรัพยากรสารสนเทศได้อย่างเหมาะสมจะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้อย่างมาก โดยหลักการ ผู้ใช้สามารถเลือกพิจารณาให้ตรงกับวัตถุประสงค์ได้ดังนี้
1. มีความสอดคล้องกับลักษณะของเนื้อหาสารสนเทศที่ต้องการ
- สารสนเทศเฉพาะวิชา ควรเลือกใช้ทรัพยากรสารสนเทศ ประเภทหนังสืออ้างอิง ตำราและ วารสารวิชาการ มากกว่าประเภทหนังสือทั่วไป และนิตยสาร (Magazine)
- สารสนเทศที่แสดงความสัมพันธ์ของเรื่องราวอย่างชัดเจน ควรเลือกใช้ทรัพยากรสารสนเทศที่เป็นภาพเคลื่อนไหวเช่น วีดิทัศน์ วีซีดีหรือ ดีวีดี เป็นต้น
- สารสนเทศการบรรยาย เพลง ดนตรี ควรเลือกใช้ทรัพยากรสารสนเทศที่มีบันทึกเสียง เช่น เทป ซีดี หรือ วีซีดี เป็นต้น
2. สารสนเทศที่มีความน่าเชื่อถือ ผู้เรียนต้องพิจารณาจากชื่อเสียง ประสบการณ์หรือคุณวุฒิของ ผู้แต่ง สำนักพิมพ์หรือผู้ผลิตทรัพยากรสารสนเทศด้วย เช่น หนังสืออ้างอิงจะมีความน่าเชื่อถือมากกว่าหนังสือทั่วไป เพราะเขียนและรวบรวมโดยผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชา
3. สารสนเทศที่ให้สะดวกในการใช้งาน ทรัพยากรประเภทตีพิมพ์จะสามารถนำมาใช้งานได้ง่ายกว่าทรัพยากรประเภทไม่ตีพิมพ์ หรือทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์ เพราะสามารถใช้งานได้ทันที ไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ในการแสดงผลเหมือนกับทรัพยากรประเภทไม่ตีพิมพ์หรือ ทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์
4. สารสนเทศที่มีความทันสมัย ผู้เรียนควรเลือกพิจารณาสารสนเทศได้จากทรัพยากรประเภทอินเทอร์เน็ต เพราะมีการเปลี่ยนแปลงทำให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา หรือเลือกใช้ทรัพยากรตีพิมพ์ประเภทหนังสือพิมพ์ที่มีการให้ข้อมูลที่กำลังเป็นที่น่าสนใจในปัจจุบัน

ไม่มีความคิดเห็น: